ทำความรู้จัก Search Engine
Search Engine คืออะไร
Search Engine คืออะไร ?
กลับมาพูดถึงกันอีกครั้งกับ Search Engine?คืออะไร?อันที่จริงแล้วนี่ ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องนี้มานานมากแล้ว แต่ว่าข้อมูลไม่เพียงพอก็เลยไม่ได้ออนไลน์ให้กับหลาย ๆ ท่านได้อ่านกันหนะครับ วันนี้ได้โอกาส ก็เลยจะมานั่งหาข้อมูลและเขียนให้จบไปสักตอนก่อนก็ยังดีเพื่อเป็นการเจาะลึกเนื้อหาและข้อมูลเกี่ยวกับ “Search Engine คืออะไร” และรายละเอียดต่าง ๆ ของ Search Engine เพื่อเป็นข้อมูลให้หลาย ๆ ท่านที่ยังไม่ทราบ หรือ กำลังหาข้อมูลจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ผมก็เลยได้พยายามรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ จากหลายแห่ง เพื่อจะนำมาเขียนบทความชุดนี้
Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีเวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา และก็คือเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมดัชนีของเว็บเพจ หรือเว็บไซต์ในโลกนี้โดยใช้โปรแกรมตัวเล็กๆ ที่เราๆ ทุกคนอาจรู้จักในชื่อว่า Robot หรือSpider นั่นเองครับ Search Engine มีการให้บริการที่ฟรีๆ อยู่สองลักษณะครับคือ
1. การให้บริการทำดัชนีเว็บเพจและเว็บไซต์ด้วย Robot หรือ Spider เมื่อเว็บไซต์มีการอัพเดทเนื้อหา
ใหม่ๆ
2. ให้บริการฟรีเครื่องมือค้นหาข้อมูลผ่านออนไลน์ (อันนี้คนใช้กันเยอะ)
ในปัจจุบันนั้น Search Engine ถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายๆ กลุ่มด้วยกันครับ แต่ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักและใช้กันเป็นประจำเป็นจะเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า “Crawler-Based Search Engines” เพราะเป็นกลุ่มที่มีการใช้ฐานข้อมูลและส่ง Spider หรือ Robot ไปทำการบันทึกข้อมูลหน้าเพจต่างๆ จากทั่วโลกเอามาจัดเก็บให้เป็นระเบียบและมีการจัดอันดับตามความเหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ (ตรงนี้แหละครับที่เราเอามาทำพวก SEO) ข้อมูลที่ Spider หรือ Robot ทำสำเนานั้นจะได้รับการจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “Search Engine Index Server” เมื่อใดก็ตามที่มีคนค้นหาข้อมูลผ่านหน้าเว็บของ Search Engine ที่ให้บริการอย่างเช่น Google เจ้า Search Engine Index Server ก็จะทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่และแสดงผลออกมาให้ตรงตามความต้องการข้อมูลนั้น ๆ โดยวิเคราะห์จากความเหมาะสมของเนื้อหา และความสมบูรณ์ของเนื้อหา ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น รูปแบบเนื้อหา Keywords และองค์ประกอบอื่นๆ ตามแต่ละที่นั้นกำหนดเอาไว้เพื่อวิเคราะห์ผลในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ Google,Yahoo!,ฺBing (MSN Live) นั่นเองครับ ส่วนหน้าตาของ Search Engine ประเภทนี้นั้นก็แล้วแต่การออกแบบครับ และการวิเคราะห์ความแม่นยำในการนำแสดงเนื้อหาก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการพัฒนาของแต่ละแห่ง เพราะทุกอย่างที่ให้บริการนั้นล้วนเป็นความลับต่อกันทั้งสิ้น ตรงส่วนนี้เองทำให้เราสามารถใช้บริการ การค้นหา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะเกิดการแข่งขันการให้บริการครับ เอาหละเราไปดูหน้าตาของแต่ละที่กันครับเริ่มจากยักษ์ใหญ่แห่ง Search Engine อย่าง Google ก่อนก็แล้วกันครับ
ในปัจจุบันนั้น Search Engine ถูกแบ่งแยกออกเป็นหลายๆ กลุ่มด้วยกันครับ แต่ที่เราๆ ท่านๆ รู้จักและใช้กันเป็นประจำเป็นจะเป็นกลุ่มที่ชื่อว่า “Crawler-Based Search Engines” เพราะเป็นกลุ่มที่มีการใช้ฐานข้อมูลและส่ง Spider หรือ Robot ไปทำการบันทึกข้อมูลหน้าเพจต่างๆ จากทั่วโลกเอามาจัดเก็บให้เป็นระเบียบและมีการจัดอันดับตามความเหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ (ตรงนี้แหละครับที่เราเอามาทำพวก SEO) ข้อมูลที่ Spider หรือ Robot ทำสำเนานั้นจะได้รับการจัดเก็บเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า “Search Engine Index Server” เมื่อใดก็ตามที่มีคนค้นหาข้อมูลผ่านหน้าเว็บของ Search Engine ที่ให้บริการอย่างเช่น Google เจ้า Search Engine Index Server ก็จะทำการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ที่ตนเองมีอยู่และแสดงผลออกมาให้ตรงตามความต้องการข้อมูลนั้น ๆ โดยวิเคราะห์จากความเหมาะสมของเนื้อหา และความสมบูรณ์ของเนื้อหา ซึ่งมีส่วนประกอบต่างๆ หลายอย่างด้วยกัน เช่น รูปแบบเนื้อหา Keywords และองค์ประกอบอื่นๆ ตามแต่ละที่นั้นกำหนดเอาไว้เพื่อวิเคราะห์ผลในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ Google,Yahoo!,ฺBing (MSN Live) นั่นเองครับ ส่วนหน้าตาของ Search Engine ประเภทนี้นั้นก็แล้วแต่การออกแบบครับ และการวิเคราะห์ความแม่นยำในการนำแสดงเนื้อหาก็แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบของการพัฒนาของแต่ละแห่ง เพราะทุกอย่างที่ให้บริการนั้นล้วนเป็นความลับต่อกันทั้งสิ้น ตรงส่วนนี้เองทำให้เราสามารถใช้บริการ การค้นหา ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพราะเกิดการแข่งขันการให้บริการครับ เอาหละเราไปดูหน้าตาของแต่ละที่กันครับเริ่มจากยักษ์ใหญ่แห่ง Search Engine อย่าง Google ก่อนก็แล้วกันครับ
Google Search Engine
ในอินเตอร์เน็ตมีเว็บเพจนับไม่ถ้วน และมีเว็บไซต์รวมถึงเว็บเพจใหม่ๆเพิ่มขึ้นทุกวัน หากไม่มี Search Engine ท่านลองนึกภาพดูซิครับว่า เราจะหาข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างไร ยกตัวอย่างเช่น หากท่านต้องการเช่ารถที่จังหวัดภูเก็ต ท่านคงไม่รู้ว่ามีเว็บไซต์ www.purecarrent.com ที่ให้บริการรถเช่า แต่สิ่งที่ท่านต้องทำก็คือ เข้าไปที่ Search Engine แล้วสั่งค้นหาโดยใช้คำว่า "ภูเก็ต รถเช่า" หรืออะไรทำนองนั้น
Bing Search Engine
Search Engine จะรู้จักเว็บไซต์ของเราได้อย่างไร
การทำให้ Search Engine รู้จัก หรือมีข้อมูลของเว็บไซต์ของเราในฐานข้อมูลของ Search Engine นั้นมีได้หลายวิธี เช่น การซื้อโฆษณา การใส่ข้อมูลของเว็บไซต์เราเข้าไปในเสิร์จเอนจิ้น (Search Engine Submission)
Search Engine Submission
Search Engine Submission คือ การส่งข้อมูลของเว็บเพจ หรือเว็บไซต์ของเราเข้าไปใน Search Engine เหมือนกับการแนะนำตัวให้ Search Engine รู้จักกับเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ Search Engine แสดงชื่อของเว็บไซต์ของเรา เมื่อมีคนทำการค้นหาข้อมูลที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของเราใน Search Engine
ข้อมูลที่เราจะส่งเข้าไปใน Search Engine มักจะเป็นข้อมูลในส่วนของ Meta Tag ของเว็บเพจนั้นๆ ซึ่งโดยมากข้อมูลที่ใช้ก็คือ ชื่อเว็บเพจ (webpage title) รายละเอียดโดยย่อของเว็บเพจ (description) และ คำสำคัญที่บอกถึงเนื้อหาหลักของเว็บเพจ (keywords)
Search Engine มีกี่ประเภท?
Search Engine มี 3 ประเภท (ในวันที่ทำการศึกษาข้อมูลนี้และได้ทำการรวบรวมข้อมูล ผมสรุปได้3 ประเภทหลัก) โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และ การจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกันด้วยครับ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกันนี่เองทำให้ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภทด้วยกัน แต่ที่พอสรุปได้ก็มีเพียง 3 ประเภทหลัก ๆ ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ครับ
ประเภทที่ 1 Crawler Based Search Engines
Crawler Based Search Engines คือ เครื่องมือการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และ จัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุด และการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน
โดยมีองประกอบหลักเพียง 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ฐานข้อมูล โดยส่วนใหญ่แล้ว Crawler Based Search Engine เหล่านี้จะมีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง ที่มีระบบการประมวลผล และ การจัดอันดับที่เฉพาะ เป็นเอกลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
2. ซอฟแวร์ คือเครื่องมือหลักสำคัญที่สุดอีกส่วนหนึ่งสำหรับ Search Engine ประเภทนี้ เนื่องจากต้องอาศัยโปรแกรมเล็ก ๆ (ชนิดที่เรียกว่า จิ๋วแต่แจ๋ว) ทำหน้าที่ในการตรวจหา และ ทำการจัดเก็บข้อมูล หน้าเพ็จ หรือ เว็บไซต์ต่าง ๆ ในรูปแบบของการทำสำเนาข้อมูล เหมือนกับต้นฉบับทุกอย่าง ซึ่งเราจะรู้จักกันในนาม Spider หรือ Web Crawler หรือ Search Engine Robots
ตัวอย่างหนึ่งของ Crawler Based Search Engine ชื่อดัง http://www.google.com
วิธีการใช้งาน
การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine
1. เปิดเว็บไซด์ที่ให้บริการ
2. ใส่คำ (keyword) ที่คุณต้องการจะค้นหาลงไปในช่องยาวๆ (text box) ที่มีสร้างเอาไว้ให้
3. คลิ๊กที่ปุ่ม ค้นหา (กรณีเลือก Search Engine ที่อื่นอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้ก็ได้ แล้วแต่ที่คุณเลือก
โปรแกรมจะเริ่มค้นหาคำนั้นๆให้ ตอนนี้คุณก็รอสักพักนึงก่อน จากนั้นรายชื่อของเว็บเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ระบุจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบนิดหน่อย ให้เราอ่านเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่ามันเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เราต้องการหรือเปล่า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่พบมีมากจนเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นหมดในหน้าเดียว มันจะมีตัวแบ่งหน้าให้เราทางด้าน ล่างสำหรับเลือกไปดูรายละเอียดส่วนอื่นๆที่เหลือในหน้าถัดๆไป แต่โดยมากแล้วข้อมูลที่ใกล้เคียง กับคำที่เราต้องการมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นๆ ของรายการแรกที่ Search Engine นั้นๆตรวจพบ
นอกจากการค้นหาข้อมูลแล้ว Search Engine บางที่ ยังสามารถค้นหา รูปภาพ ได้อีกด้วยครับ
การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser
การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ คือ
1. ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit
2. แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find (on This Page) หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้
3. จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ
ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ
ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine
คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่
รวมเทคนิคในการใช้ Search Engine
1. ใช้เครื่องมือแปลเว็บเพ็จให้เป็นประโยชน์
นอกจากภาษาอังกฤษแล้วที่เราท่านอาจจะอ่านออกบ้าง ไม่ออกบ้างเช่นผม เป็นต้น ถ้าไปเจอภาษาอื่น ๆ
โดยเฉพาะเว็บแคร็กที่เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว ควรจะใช้เครื่องมือแปลภาษาบ้าง จะได้รู้ว่ามันคืออะไร เช่น
http://babelfish.altavista.com/ หรือ
http://world.altavista.com/
ซึ่งถ้าใครใช้ MyIE2 อยู่แล้วมันก็มีอยู่ในโปรแกรมแล้ว ตรงลูกครสีเขียวเล็ก ๆ (ปุ่ม Go) ข้าง ๆ จะมีลูกศรอันจิ๋วนั่นแหละครับคลิกเลยครับ
2. ใช้ Directories
เจ้านี่จะเป็นตัวช่วยกำจัดข้อมูลที่เราต้องการหาให้เหลือน้อยลงได้เป็นการประหยัดเวลา โดยการหาเฉพาะเรื่องที่เราต้องการเท่านั้น เพราะจัดเรียงตามหัวข้อhttp://directory.google.com/
Yahoo! Search Engine
3. ใช้ “advanced tips”
อันนี้ก้วยเจ๋งบวกอึ้งย้งเลย บางอันผมยังไม่เคยทราบ โปรดทราบว่า x ใช้แทนอักษรหรือคำที่เราต้องการหาครับ
A. "xxxx" ถ้าเราต้องการหาคำเฉพาะเจาะจง ให้พิมพ์ใส่ในเครื่องหมายฟันหนู อย่าลืมว่า google ไม่ใช่ case sensitive หมายถึงว่า เมื่อเราพิมพ์คำว่า Thailand โดยไม่ได้ใส่เครื่องหมาย มันก็จะหาข้อมูลที่มีคำว่าไทยแลนด์มาให้ดูเป็นกระตั้ก
B. -x / ถ้าใส่เครื่องหมายลบอยู่ข้างหน้าตามด้วย / คำที่อยู่ระหว่าง 2 เครื่องหมายนี้จะไม่ถูกค้นหา
C. filetype:xxx / เป็นการหา file extension โดยเฉพาะครับ (exe, mp3, etc)
D. -filetype:xxx / พอใส่เครื่องหมายลบเพิ่มเป็นการบอกว่าไม่ต้องค้นนะ ไฟล์สกุลนี้
E. allinurl:x / เป็นการหา URL ที่เราต้องการ อ่านว่า ออลอินยูอาร์แอล:คำที่ต้องการหา
F. allintext:x / หาคำที่ต้องการในหน้าเว็บ
G. allintitle:x / หา html title ในหน้าเว็บนั้น
H. allinanchor:x / หาคำที่ต้องการในลิงค์ที่โชว์อยู่
I. OR นั่นก็คือหรือนั่นเอง หมายถึงให้หาคำนี้หรือคำนั้น
J. ~X ให้หาคำที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ในกรณีที่เราคิดอะไรไม่ออกอ่ะครับ
4. ใช้จุดกับตัวเลข
สมมุตินะครับสมมุติว่าผมเป็นเด็ก (ทำไมกลายเป็นน้องพลับไปได้หว่า…) เอาใหม่ เช่นถ้าเราต้องการหาเครื่องเล่น MP3 ราคาอยู่ในราวไม่เกิน $90 เราก็พิมพ์ว่า mp3 player $0..$90 มันก็จะหาให้เราเฉพาะราคาระหว่าง 0~90 เหรียญเท่านั้น เพราะเราใส่จุดไป 2 ตัวนั่นเอง ทิปนี้ใช้กับตัวเลขอื่น ๆ เช่นวันที่ น้ำหนัก ฯลฯ ได้ด้วยครับ
5. ใส่เครื่องหมายบวก +
เคยพิมพ์คำที่เราต้องการหาแล้วเจอข้อความนี้ไหมครับ
"The following words are very common and were not included in your search:"
เราสามารถใส่ + หน้าคำที่เราต้องการถึงแม้มันจะเป็นคำธรรมดาเป็นการบังคับกูลเกิลหาให้เราครับ
6. ใช้ Preferences
Google มีตัวปรับแต่งการหาให้เหมาะสมกับความต้องการของเราครับ ใช้มันให้เป็นประโยชน์มากที่สุด ตรงใกล้กับช่อง search box ด้านขวามือนั่นแหละครับมี Options หลายตัวให้เราเลือกใช้ เช่น Open results in new browser, Display 10-50 or 100 results per page
7. ใช้ดอกจัน *
อันนี้น่าจะรู้กันดีอยู่แล้วนะครับเรียกว่า Wildcard searches เป็นการหาคำแบบกว้าง ๆ เช่น *mp3 มันก็จะหาทุกคำที่มีเอ็มพี3ให้ทั้งหมด
8. หาไปทุกที่
ครับ ถ้าเราหาไม่เจอใน web section ก็หาใน group section ถ้าไม่เจอก็ใช้ search engine ตัวอื่น ๆ เช่น yahoo, altavista หาต่อไป หรือเพื่อให้แน่ใจคำที่เราต้องการหา ให้ใช้ serch engine หลาย ๆ ตัวหาในคำ ๆ เดียวกันเพื่อเปรียบเทียบผลที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่น หาคำว่า”การตายของดิสนีย์ (disney death)” ถ้าหาใน altavista จะมี disney เพียบแต่คำว่า death ไม่มีหรอกครับ อ่ะ อ่ะ คนทำเว็บนี้กลัวตาย
ตบท้ายด้วยการที่ผู้เขียนยกตัวอย่างการหาคำเฉพาะที่ต้องการโดยใช้เทคนิคตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เขาต้องการหาคำว่า Sepultura เป็นชื่อวงดนตรี Heavy metal ของบราซิล (เฮอะ..ผมก็ชอบนะพวก Heavy metal or Heavy rock แต่ต้องเป็นวงเก่า ๆหน่อยเช่น Mountain, Lead Zaplin, UFO, Uriah Heep, Three dog night, Wish boon Ash อะไรพวกเนี้ย)
ถ้าพิมพ์คำว่า "Index of music" "Sepultura" mp3 –หาไม่เจอเพราะดันทะลึ่งใส่คำว่า mp3
"Index of music" "Sepultura" * -หาเจอแต่ยังไม่มากโดยเฉพาะกับคำว่า Sepultura เพราะมันเป็นวงดนตรีมิใช่ music
"index of *" "sepultura" – อันนี้แจ็คพอตครับเจอแน่ ๆ
ถ้าเราไม่แน่ใจว่าจะสะกดถูกต้องไหม ใช้ไปเถอะดอกจัน * ตัวนี้ช่วยได้เยอะครับ
อ้อ…อีกตัวหนึ่ง inurl:ftp
Search Engineที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่
การค้นหาข้อมูลด้วย Basic Search จากเว็บไซต์ www.siamguru.com
Basic Search คือ เครื่องมือในการค้นหาว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล (Search Engine) โดยเน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบนอินเทอร์เน็ต มีความสามารถเทียบเท่าเสิร์ชเอ็นจิ้นชื่อดังจากต่างประเทศ โดยการค้นหาจะเป็นแบบค้นหาข้อมูลจากทุกคำของข้อมูลจริง (Full Text Search) ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษจากเว็บเพจจำนวนหลายแสนหน้า มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาจัดทำดัชนี (index) โดยอัตโนมัติ ผสมกับการจัดแยกหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากที่สุด
เว็บไซต์ www.siamguru.com แบ่งการค้นหาเป็น 4 รูปแบบคือ
http://www.sanook.com/
http://www.google.co.th/
http://www.google.com
http://www.yahoo.com/
http://www.msn.com/
http://www.live.com
http://www.baidu.com
http://www.ask.com
เป็นต้น
http://www.google.co.th/
http://www.google.com
http://www.yahoo.com/
http://www.msn.com/
http://www.live.com
http://www.baidu.com
http://www.ask.com
เป็นต้น
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Search Engine มีดังนี้
•http://www.google.com
•http://www.live.com
•http://www.yahoo.com
•http://www.baidu.com
•http://www.ask.com
•http://www.live.com
•http://www.yahoo.com
•http://www.baidu.com
•http://www.ask.com
ตัวอย่าง Search Engine ที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
เช่น sanook.com, siamguru.com, google.com, yahoo.com, msn.com, altavista.com, search.com เป็นต้น
วิธีการค้นหา
เพียงพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหา หรือที่เราเรียกว่า Key Word และกดปุ่ม Search
เพียงพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหา หรือที่เราเรียกว่า Key Word และกดปุ่ม Search
Search engine ของประเทศไทย
Thai Quest : http://news.thaiquest.com/
Sanook : http://www.sanook.com/
Thailandtarvel : http://www.thailandtravelsearch.com/?404=Y
Siamguru : http://www.siamguru.com/
Asiabot : http://search.asiaco.com/Thailand/
Siamside : http://www.siaminside.com/
Bannok : http://www.bannok.com/
Thaibuz : http://www.thaibuz.com/
Chiangmai : http://www.chiangmai-online.com/
Thaifind : http://www.thaifind.com/
Cnet : http://www.cnet.net.th/
Thaiger : http://www.thaiger.com/
Hunsa : http://www.hunsa.com/
Thailander : http://www.thailander.com/
Infothailand : http://www.infothailand.com/
Lemononline : http://www.lemononline.com/
Thaiseek : http://www.thaiseek.com/
Thaishop : http://www.thaishop.com/
Crawler Based Search Engine ได้แก่อะไรบ้าง
จะยกตัวอย่างคร่าว ๆ ให้ได้เห็นกันเอาแบบที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักหนะครับก็ได้แก่? Google , Yahoo, MSN, Live, Search, Technorati (สำหรับ blog)?ครับ ส่วนลักษณะการทำงาน และ การเก็บข้อมูงของ Web Crawler หรือ Robot หรือ Spider นั้นแต่ละแห่งจะมีวิธีการเก็บข้อมูล และ การจัดอันดับข้อมูลที่ต่างกันนะครับ เช่น คุณทำการค้นหาคำว่า “Search Engine คืออะไร” ผ่านทั้ง 5 แห่งที่ผมให้ไว้จะได้ผลการค้นหาที่ต่างกันครับ
ประเภทที่ 2 Web Directory หรือ Blog Directory
Web Directory หรือ Blog Directory คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้คุณสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมาก ๆ คล้าย ๆ กับสมุดหน้าเหลืองครับ ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ตามหมวดหมู่นั้น ๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ ในขณะที่เราค้นหาข้อมูล เพราะว่าจะมีเว็บไซต์มากมาย หรือ Blog มากมายที่มีเนื้อหาคล้าย ๆ กันในหมวดหมู่เดียวกัน ให้เราเลือกที่จะหาข้อมูลได้ อย่างตรงประเด็นที่สุด (ลดระยะเวลาได้มากในการค้นหา) ซึ่งผมจะขอยกตัวอย่างดังนี้
ODP Web Directory ชื่อดังของโลก ที่มี Search Engine มากมายใช้เป็นฐานข้อมูล Directory
1.? ODP หรือ Dmoz ที่หลาย?ๆ คนรู้จัก ซึ่งเป็น Web Directory ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Search Engine หลาย ๆ แห่งก็ใช้ข้อมูลจากที่แห่งนี้เกือบทั้งสิ้น เช่น Google, AOL, Yahoo, Netscape และอื่น ๆ อีกมากมาย ODP มีการบันทึกข้อมูลประมาณ 80 ภาษาทั่วโลก รวมถึงภาษาไทยเราด้วยครับ (URL : http://www.dmoz.org )
2. สารบัญเว็บไทย SANOOK ก็เป็น Web Directory ที่มีชื่อเสียงอีกเช่นกัน และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในเมืองไทย (URL : http://webindex.sanook.com )
3. Blog Directory อย่าง BlogFlux Directory ที่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกมากมายตามหมวดหมู่ต่าง ๆ หรือ Blog Directory อื่น ๆ ที่สามารถหาได้จาก Make Many แห่งนี้ครับ
ประเภทที่ 3 Meta Search Engine
Meta Search Engine คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหาโดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่าง ๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML นั่นเองเช่น ชื่อผู้พัฒนา คำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ
ผลการค้นหาของ Meta Search Engine นี้มักไม่แม่นยำอย่างที่คิด เนื่องจากบางครั้งผู้ให้บริการหรือ ผู้ออกแบบเว็บสามารถใส่อะไรเข้าไปก็ได้มากมายเพื่อให้เกิดการค้นหาและพบเว็บ หรือ บล็อกของตนเอง และ อีกประการหนึ่งก็คือ มีการอาศัย Search Engine Index Server หลายๆ แห่งมาประมวลผลรวมกัน จึงทำให้ผลการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ไม่เที่ยงตรงเท่าที่ควร
มาถึงตอนนี้หลาย ๆ ท่านที่เคยสงสัยว่า “Search Engine คืออะไร” คงได้หายสงสัยกันไปบ้างแล้วและเริ่มเข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine กันมากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการของเราในการค้นหาข่าวสารข้อมูล สำหรับบทความ “Search Engine คืออะไร” นี้หากขาดตกบกพร่องประการใด หรือ ไม่ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนท่านสามารถติชม หรือ ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ผ่าน Comments ของบทความชุดนี้เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงและแก้ไขให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุดและ เป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ที่ทำการค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้งาน
ประโยชน์ของ Search Engine
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น