วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

ความรู้สำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์
พรบ. คอมพิวเตอร์ 2550
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”

มาตรา ๒
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น

“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๔
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

หมวด ๑
ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


มาตรา ๕
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖
ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๗
ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๘
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๙
ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๐
ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๑
ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท

มาตรา ๑๒
ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี


มาตรา ๑๓
ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๑๔
ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)


มาตรา ๑๕
ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔

มาตรา ๑๖
ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ
ปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย


มาตรา ๑๗
ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ
(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ
(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ
จะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


หมวด ๒
พนักงานเจ้าหน้าที่

มาตรา ๑๘
ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้


มาตรา ๑๙
การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ
ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ
(๘) ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


มาตรา ๒๐
ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้

มาตรา ๒๑
ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๒
ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่
โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


มาตรา ๒๓
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๔
ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๒๕
ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น

มาตรา ๒๖
ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท


มาตรา ๒๗
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา ๒๘
การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด

มาตรา ๒๙
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง

มาตรา ๓๐
ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี


เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
       เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ภัยร้ายที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์

 สาเหตุ มาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์นานๆ


คือ...อาการของคนที่ทำงานอยู่ หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกัน
เป็นเวลานานๆ เช่น เกิน 2-3 ชั่วโมง มักจะมีอาการ.....

: ปวดที่กระดูกข้อมือ เจ็บปวดกล้ามเนื้อ บริเวณต้นคอ ไหล่ หลัง บั้นเอว
แขน และ ข้อมือ หรือ หากใช้สายตาจ้องหน้าจอนาน ๆ มักมีอาการปวดตา
แสบตา ตามัว และบ่อยครั้ง ที่จะมีอาการปวดหัว ร่วมด้วย
(ซึ่งอาการหลังนี่..เป็นกันเยอะมาก)

อาการทางสายตาเหล่านี้ เกิดจากการจ้องดูข้อมูล บนคอมพิวเตอร์ติดต่อ
กัน เป็นเวลานานเกินไป พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์

โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี อาการในบางคน อาจเป็นเล็กๆ น้อยๆ
ไม่บั่นทอนการทำงาน หรือ พักการใช้คอมพิวเตอร์สักครู่ ก็หายไป บางคน
อาจต้องว่างเว้น การใช้เป็นวัน ก็หาย บางรายอาจต้อง ใช้ยาระงับอาการ

สาเหตุการเกิด "โรค CVS" หรือ
"คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม" ?


เนื่องจากว่า ....

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ไม่ค่อยกระพริบตา ปกติแล้ว เราทุกคนจะต้อง
กระพริบตาอยู่เสมอ เป็นการเกลี่ยน้ำตา ให้คลุมผิวตาให้ทั่วๆ
โดยมีอัตราการกระพริบ 20 ครั้งต่อนาที

หากเราอ่านหนังสือ หรือ นั่งจ้องคอมพิวเตอร์ อัตราการกระพริบ
จะลดลง โดยเฉพาะการจ้องคอมพิวเตอร์ การกระพริบตา
จะลดลงกว่าร้อยละ 60 ทำให้ผิวตาแห้ง ก่อให้เกิดอาการ
แสบตา ตาแห้ง รู้สึกฝืดๆ ในตา

แสงจ้า และแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ตาเมื่อยล้า
ทั้งแสงจ้าและ แสงสะท้อนมายังจอภาพ อาจเกิดจากแสงสว่าง
ไม่พอเหมาะ มีไฟส่องเข้าหน้า หรือ หลังจอภาพโดยตรง

หรือแม้แต่แสงสว่างจากหน้าต่างปะทะหน้าจอภาพโดยตรง ก่อให้
เกิดแสงจ้า และ แสงสะท้อนเข้าตาผู้ใช้ ทำให้เมื่อยล้าตาง่าย




ภัยที่มาจากการใช้อินเตอร์เน็ต


ภัยข้อแรก ภัยจากการแชท การแชท หมายถึง การพูดคุยกันทางอินเทอร์เน็ต เป็นภัยที่พบง่ายและบ่อยที่สุด บางครั้งเราอาจกำลังสนทนาอยู่กับคนที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากเราอยู่ก็ได้ ถ้าเราเผลอให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือนัดเจอคนที่รู้จักกันทางเน็ต เราอาจตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ได้ คนเหล่านี้เล่นแชท เพราะเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อน , มีปมด้อย , อยากหาแฟน , เพ้อฝันว่าอาจจะได้เจอสิ่งดีๆ ในเนต ,โรคจิต , แสวงหาผลประโยชน์จากคนที่ไม่รู้ , หาความรู้โดยไม่อยากเสียเงิน หรือเล่นไปงั้นๆ แหละ เพื่อนบอกให้ลอง

ภัยข้อที่ 2 ภัยจากการเล่นเกมส์ออนไลน์ เป็นเหมือนกับยาเสพติดดีๆ นี่เอง เพราะเมื่อเล่นแล้วทำให้ไม่อยากหยุดเล่น อยากทำคะแนนให้ได้เยอะๆ ได้ level ที่สูงขึ้น อยากอวด อยากเอาชนะคนอื่น ปัจจุบันเกมส์ออนไลน์มีมากมาย บางเกมส์ส่อไปในทางลามกอนาจาร มีการนำเสนอภาพที่รุนแรง บางเกมส์มีการขายของที่อยู่ในเกมส์ หลายคนเคยตกเป็นเหยื่อเพราะโดนหลอกซื้อของที่อยู่ในเกมส์ก็มี นักเรียนต้องรู้จักข่มใจตนเอง เลือกเล่นเฉพาะเกมที่สร้างสรรค์ กำหนดเวลาเล่นให้เป็น ไม่ใช่เล่นเอาเป็นเอาตาย สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอนทำให้เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงเสียการเรียนด้วย

ภัยข้อสุดท้าย ภัยจากการท่องเวบ ภัยจากการท่องเว็บอันดับ 1 คือ การโฆษณาหลอกลวงขายสินค้า เช่น สั่งซื้อของจ่ายเงินแล้วแต่ไม่ได้ของก็มี 2. เว็บดาวน์โหลด ถ้าดาวน์โหลดสุ่มสี่สุ่มห้า อาจจะมีไวรัสแถมมาด้วย หรือบางเว็บแค่คลิกเข้าไปก็โดนไวรัสแล้ว 3. เว็บโป๊ อนาจาร 4. เว็บบอร์ด กระดานถามตอบ อาจมีการโพสต์ข้อความชวนเชื่อ โกหกบ้าง จริงบ้าง ใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพเพื่อกลั่นแกล้งกันก็มี 4. ภัยจากอีเมล์ก็มีไวรัส หรือภาพโป๊ ฟอร์เวิร์ดเมล์ที่ไร้สาระ ถ้ามีเมล์ที่เราไม่รู้จักเข้ามา ก็ควรลบทิ้ง

จากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ ทำให้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันในสังคมเป็นอย่างมาก  ที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดก็คือ การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้

ประของการใช้คอมพิวเตอร์
    
     งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย

     งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น

    งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน

    งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน

    งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น

    การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด

พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550


รายการทีวี ตอน ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์









ความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่องบล็อก

Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)


ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง


Web log หรือเรียกสั้นๆ ว่า blog (บล็อก) เป็นหนึ่งในความพยายามที่จะนำเวบไปใช้งานในรูปแบบอื่น ให้อธิบายง่ายๆ blog คือ ไดอารี่ออนไลน์นั่นเอง เริ่มจากเราทำการสมัครสมาชิกของ blog หรือจะตั้งเซิร์ฟเวอร์เองก็ได้ แล้วก็เขียนเรื่องราวต่างๆ ตามใจชอบ โดย blog จะแสดงผลตามวันเหมือนกับไดอารี่ทุกประการ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า แล้วจะเขียนเรื่องอะไรลงใน blog ของเราดีล่ะ อันนี้หลากหลายมาก (เหมือนกับเราเขียนไดอารี่นั่นแหละ) บางคนอาจจะบันทึกเรื่องที่เจอในแต่ละวัน บางคนอาจจะเขียนวิจารณ์ข่าวสารบ้านเมือง บางคนอาจจะแนะนำเวบไซต์ที่เจอมาในวันนั้น แต่งกลอน โพสรูปที่ไปเที่ยวมา หรือบางครั้งก็ร่วมกันเขียนเป็นทีม ขึ้นกับเจ้าของ blog ว่าต้องการเขียนไปในทางไหน

มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น


จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง


ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น


ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq


เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ


และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ, สิ่งพิมพ์, โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง


สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย


ทำไม blog ถึงมีค่าแก่การพูดถึง? อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว การเขียน blog ฟังดูธรรมดามากเลยใช่มั้ยค่ะ แต่ตอนนี้มันกลายเป็นสิ่งที่ฮิต และอินเทรนด์ที่สุดบนอินเทอร์เน็ตไปแล้ว ดิฉันลองมานั่งนึกสาเหตุที่ทำให้ใครๆ ก็ติด blog มาได้หลายประการดังนี้ค่ะ

1.
เขียน blog เหมือนกับเล่นเวบบอร์ด

กฎข้อแรกของการสร้างเวบไซต์ให้ติดตลาด คือ ต้องทำให้ผู้ชมกลับมาเยี่ยมเวบของเราอีกให้ได้ และวิธีที่ง่ายและได้ผลที่สุดคือ สร้างชุมชนของผู้ชม (Community) ให้เกิดขึ้นบนเวบของเรา เพราะเหตุนี้จึงทำให้เวบที่เน้นการสนทนาผ่านเวบบอร์ดอย่าง Pantip.com กลายเป็นเวบไซต์อันดับหนึ่งของเมืองไทยมาหลายปี blog เป็นการแสดงความคิดเห็นของเราให้คนอื่นอ่านวิธีหนึ่ง เพียงแต่เป็นเวบบอร์ดส่วนตัวที่คนเขียนคือเจ้าของ blog เท่านั้น (ผู้ชมสามารถแสดงความเห็นได้เป็น comment)

2.
เขียน blog ไม่ต้องระวังเท่าเวบบอร์ด

จุดอ่อนของเวบบอร์ดคือคนเยอะ และเมื่อเกิดความขัดแย้งกัน ก็จะทะเลาะกันใหญ่โต Pantip.com เจอปัญหานี้มากจนต้องตั้งระบบสมาชิกที่เข้มงวด ทำให้ลำบากในการสมัคร blog เข้ามาทดแทนในจุดนี้ได้พอดี เราสามารถเขียนอะไรลงใน blog ของเราก็ได้โดยไม่ต้องกลัวใครว่า ไม่ต้องกลัวข้อมูลมั่ว (เพราะว่าเป็น blog ของเรานี่นา) ทำให้หลายๆ คนเกิดความสบายใจในการเขียน blog มากกว่าเวบบอร์ดที่มีคนมาคอยเถียงหรือจับผิด

3. blog
มีเนื้อหาต่อเนื่อง

คนที่สนใจในเรื่องเดียวกันก็มักจะเข้าเวบบอร์ดเฉพาะเรื่อง แต่ปัญหาอีกอย่างของเวบบอร์ดคือ กระทู้ตกเร็ว และแต่ละกระทู้ไม่ต่อเนื่องกัน เพราะต่างคนต่างโพส แต่ blog นั้นเป็นของเจ้าของคนเดียว เขียนคนเดียว สามารถควบคุมความต่อเนื่องของเนื้อหาได้สะดวกกว่า ยิ่งเจ้าของ blog นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เราสนใจพอดี นี่จะสนุกมากเลยค่ะ ได้อ่านอะไรๆ ที่วงในเค้ารู้กันได้จาก blog นี่ล่ะ

4.
มันก็เหมือนแอบอ่านไอดารี่คนอื่น


การแอบอ่านไดอารี่เป็นอะไรที่ไม่ดีแต่สนุกมาก blog นั้นกลับกัน เป็นไดอารี่ที่อยากให้คนอื่นอ่าน ดังนั้นเจ้าของ blog จะประดิษฐ์ ประดอยหาเรื่องที่น่าสนใจมาเขียนให้อ่าน ทำให้เรื่องใน blog นั้นก็น่าสนใจมากขึ้น

Light Blogging การวิวัฒนาการของ Blog

โลกของเทคโนโลยีมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา แถมเร็วซะด้วย ลองนึกย้อนไปถึงเมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน ในช่วงนั้นคนไทยได้รู้จักบล็อกกันเป็นวงกว้างและมีการให้บริการพื้นที่บล็อกขึ้นอย่างมากมาย รวมทั้งผู้ให้บริการที่เป็นชาวไทยเองก็มีหลายแห่งที่เปิดบริการพื้นที่บล็อกในคนไทยได้ใช้เช่น exteen.com หรือ bloggang.com เป็นต้น ซึ่งตัวบล็อกเองนั้น หากให้อธิบายก็น่าจะอธิบายได้ว่าเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเขียนบันทึกได้ในรูปแบบที่เก็บไว้บนออนไลน์ โดยมีจุดเด่นคือใส่รูป ใส่วีดีโอได้ แถมเรียงลำดับแบบใหม่ไปหาเก่า เรียกได้ว่าพอคนเข้ามาอ่านในบล็อก จะเห็นบทความใหม่ล่าสุดอยู่ที่หน้าแรกเสมอ
เวลาผ่านไป บล็อกก็ถูกวิวัฒนาการไปเรื่อย และสิ่งที่เราเห็นในยุคต่อมาก็คือเมื่อประมาณ 2-3 ปีก่อน คนไทยก็เริ่มรู้จักบริการไมโครบล็อก (Micro Blog) ที่ชื่อทวิตเตอร์ ซึ่งทวิตเตอร์เองนั้นจะเน้นให้ผู้ใช้สามารถเขียนบล็อกได้ในรูปแบบที่เป็นข้อความสั้น คือเขียนได้ไม่เกินครั้งละ 140 ตัวอักษร แถมยังใส่ได้แต่ตัวอักษรเท่านั้น หากอยากใส่รูปภาพอาจต้องไปฝากไว้ที่อื่นแล้วแสดงเป็นลิงค์ให้ไปคลิกดูแทน โดยไมโครบล็อกนี้พัฒนามาเพื่อคนที่อยากเขียนบล็อก แต่อาจจะยังไม่อยากเขียนแบบยาว ๆ ซึ่งแบบนี้สามารถทำให้คนเขียนได้สะดวกขึ้น บ่อยขึ้น โดยมีอุปกรณ์สำคัญคือโทรศัพท์มือถือที่ช่วยทำให้ไมโครบล็อกนี้เติบโตครอบครองใจมหาชน
และล่าสุดนี้ วิวัฒนาการของบล็อก ก็ได้ถูกพัฒนามาเป็นสิ่งที่เรียกว่า ไลท์บล็อก (Light Blog) จะว่าเป็นลูกครึ่งระหว่างบล็อก และไมโครบล็อกก็ได้ คือเหมาะสำหรับเขียนแบบไม่ยาวมาก แต่ก็สามารถใส่ได้มากกว่า 140 ตัวอักษร มีให้เลือกได้เลยว่าเราอยากใส่รูปเฉย ๆ ก็ได้ หรืออยากเขียนบทความเฉย ๆ ก็ได้ หรือแม้กระทั่งแค่การแชร์ลิงค์เว็บที่ไปเจอมาก็ได้ โดยระบบของไลท์บล็อก มักจะพัฒนามาให้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้น แถมพ่วงเอาความสะดวกของการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นตัวกลาง เพราะผู้ให้บริการไลท์บล็อกหลายแห่งนั้น ก็สร้างแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือมาให้ใช้
บริการไลท์บล็อกที่เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศก็คือ Tumblr และ Posterous ซึ่งผู้นำในตลาดไลท์บล็อกก็คือ Tumblr โดยมี Posterous ที่พยายามตามจี้ติดตลอด ซึ่งก็ทั้งสองแห่งนี้ก็ได้ต่อสู้กันในแง่การพัฒนาบริการกันมาตลอดปี 2553 นี้ ส่วนชาวไทยที่เราเริ่มเห็นใช้กันเยอะขึ้น ก็จะไปอยู่ที่บริการไลท์บล็อกของ Tumblr เสียเป็นส่วนใหญ่

 



เทคนิคเบื้องต้นในการเขียนบทความ (Blogger)

อีกหนึ่งวิธีในการทำการตลาด การสร้างบล็อกส่วนตัว (Blog) และรังสรรค์บทความที่น่าสนใจ นับเป็นหนึ่งในหลายๆวิธีที่จะทำให้เพื่อนๆได้รับสิ่งที่เรียกว่า Personal Branding และยังสามารถทำให้เว็บไซด์ของเพื่อนๆเอง ทำเงินได้มากขึ้นด้วย

บล็อก (blog) ไม่ใช่แค่ความสวยงามอลังการด้วยแฟลชที่กระพริบวิบวับทั่วทั้งบล็อก ไม่ใช่การใส่เทคโนโลยีไฮโซอย่างจาวา ไม่ใช่แค่การติดตั้งปลั๊กอินเต็มพรืด หากว่าบล็อกสวยขั้นเทพ สวยจนเคลิ้มไม่กล้าแม้แต่จะคลิก ไม่รู้กระทั่งว่าควรจะคลิกอะไรดี มันก็ไม่มีความหมาย สิ่งต่างๆที่กล่าวมา นั่นเป็นเพียงแค่ตัวประกอบ แต่พระ/นางตัวจริงของบล็อก คือบทความต่างหากค่ะ
หลายคนอยากจะทำบล็อกและหลายคนทำบล็อกไปแล้ว แต่มักจะมีเหตุผลบางอย่างคล้ายๆกันโดยมิได้นัดหมายคือ -ไม่รู้จะเขียนอะไรดี- ดิฉันจับสังเกตจากเว็บ Submit Social และเว็บ Submit Article พบบทความมากมายหลั่งไหลสู่ระบบเน็ทเวิร์ค และก็พบอะไรบางอย่าง นอกจากคลิป18+
ก่อนที่จะแนะนำเทคนิคเล็กๆน้อยๆ เพื่อนๆอาจจะสงสัยว่าแค่การเขียนบทความลงบล็อกจะมีประโยชน์อะไรกับการตลาด อีกทั้งแค่การขีดๆเขียนๆ จะมีทฤษฎีอะไรที่น่าสนใจมากไปกว่าตัวอักษรที่ละลานตา ถ้าใส่คลิป18+ หรือ Sex Story จะง่ายกว่าไหม?
จริงค่ะ มันอาจจะง่ายกว่า แต่อย่าเพิ่งดูถูกการเขียนบทความนะ  มีนักธุรกิจมากมายที่ประสบความสำเร็จ จากการเขียนบทความเล็กๆน้อยๆ นอกจากโกยรายได้บนโลกออนไลน์ด้วยธุรกิจของเขาแล้ว บางบทความของพวกเขา ได้รับการต่อยอดจนกลายเป็นหนังสือ ได้รับการแปลจนกลายเป็น E-Book กลายเป็นช่องทางสร้างรายได้อีกประการ
Personal Branding เป็นคำที่นักการตลาดมุ่งหมายให้ได้มาครอบครอง เพราะเมื่อพวกเขามีสิ่งที่เรียกว่า Personal Branding  ถึงเวลาจะหยิบจับอะไรมาขาย ก็ขายได้ดีเป็นเทน้ำเทท่า มันอาจจะต้องใช้เวลาสักนิด และมีวิธีการมากมายหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีการเหล่านั้นก็คือ การเขียนบทความลงบล็อก มันจะทำให้ผู้คนบนโลกออนไลน์ได้รู้จักตัวตนของคุณ มันคือโอกาสอันหอมหวานที่คุณจะได้ขายตัว(เอง)เป็นอันดับแรก
ปัญหาก็คือ จะเขียนบทความอะไรดีล่ะ (นอกจาก18+)? มาไล่เรียงดูเทคนิคต่างๆกันค่ะ

ค้นหา Content มาแรง หรือเรื่องราวที่ผู้คนให้ความสนใจมากถึงมากที่สุด เท่าที่ผมสังเกตจากการโหวตของบทความต่างๆในเว็บต่างประเทศ บทความที่มาแรง มักจะเป็นบทความดังต่อไปนี้ครับ
·             เพลง เป็นคีย์เวิร์ดที่ถูกเสิร์ชบ่อยมาก (น่าจะบ่อยที่สุดเลยด้วย) การเขียน Content เกี่ยวกับเพลง เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ คุณอาจจะชื่นชอบเพลงใดใดก็ตาม เขียนถึงมันเสียหน่อย เขียนถึงความหมายในเพลง เขียนถึงเนื้อร้องในเพลง หรืออาจจะมีคลิปจาก youtube อาจจะเป็น MV สิ่งเหล่านี้เป็นความบันเทิงที่คนทั้งโลกชื่นชอบ
·             บุคคลมีชื่อเสียง ข่าวในวงการบันเทิง หรือข่าวสารของผู้มีชื่อเสียง หรือคุณอาจจะมีประวัติเล็กๆน้อยๆของบุคคลที่มีชื่อเสียง นำมาสร้างเป็นบทความได้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในวงการบันเทิง การเมือง กีฬา บุคคลในประวัติศาสตร์ หรือแม้แต่ดาราAV!
·             กีฬา เป็นยาวิเศษ และเป็นบทความที่แสนวิเศษสำหรับชาวบล็อก ผมรู้จักนักธุรกิจคนหนึ่ง เขาทำบล็อกส่วนตัว เมื่อครั้งที่มีเทศกาลฟุตบอลโลก เขาแค่นำตารางการแข่งขันมาแปะลงในบล็อก ปรากฏว่า Traffic ตรึมเลยครับ เรื่องราวของกีฬา เข้าถึงทุกเพศทุกวัยครับ
·             ความรู้รอบตัว คุณคงจำได้ สมัยที่ทำรายงานส่งอาจารย์ คุณจะต้องค้นคว้าหาข้อมูล ในโลกปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่าอินเตอร์เน็ต ทำให้การเข้าถึงข้อมูลไม่ใช่แค่การเข้าห้องสมุดอีกต่อไป เพียงปลายนิ้ว เหมือนที่หลายคนแซวกันว่า อยากรู้อะไรให้ถามอากู๋ (google) ความรู้รอบตัวที่คุณนำมาใส่ในบทความ จะเป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยอะไรก็ได้ ขอเพียงอย่ามั่ว ให้หาแหล่งที่มาชัดเจน คุณอ่านให้เข้าใจก่อน แล้วจึงเริ่มเขียนในแบบฉบับของคุณ ไม่ยากเลย กับการที่จะอธิบายอะไรสักอย่างตามที่ตัวเองเข้าใจ ลองนึกถึงสาวๆในมหาวิทยาลัยทำรายงานฉบับหนึ่งส่งอาจารย์ แล้วเขาอ้างบรรณานุกรมถึงบล็อกของคุณ มันดูดีมีเสน่ห์ขนาดไหนล่ะ จริงไหม
·             เทคโนโลยี มือ ถือ รถ แล็ปท็อป หรือข่าวสารอัพเดทด้านเทคโนโลยี เป็นอีกเรื่องราวที่ผู้คนให้ความสนใจมากที่สุด แค่คุณติดตามข่าวสาร IT หรือเทคโนโลยีต่างๆ ก็นับว่าเป็น Content ที่เขียนง่ายๆ รีวิวง่ายๆและน่าสนใจมากครับ
·             แจกของฟรี Content นี้กำลังเป็นที่นิยมมาก ขอเพียงอย่าให้ผิดลิขสิทธิ์ก็พอครับ คุณจะแจกอะไรก็ได้ ภาพถ่ายวิวสวยๆที่คุณถ่ายเอง, คลิปน่ารักของสัตว์เลี้ยงของคุณ, E-Book, หรือแม้แต่แจกรูปของคุณเอง (ถ้ามั่นใจพอนะ) ตัวอย่างที่เห็นตามบล็อกต่างๆ มักจะแจกรูปwallpaper แจก Theme แจกของแต่งบล็อก เป็นต้น
·             Odd Stuff รวมเรื่องแปลก คนเรามีนิสัยอย่างหนึ่งที่เหมือนๆกันคือ ชอบของแปลก พอได้ยินเรื่องราวอะไรที่แปลกๆก็เกิดอยากจะรู้ขึ้นมาทันที เรื่องแปลกในที่นี้ อาจจะเป็นเรื่องลึกลับ, เรื่องผี, เรื่องประหลาด, ที่สุดในโลก, หรือถ้าคุณคิดว่าแฟนของคุณเป็นคนแปลกๆ คุณจะเอามาเขียนก็ได้ไม่ว่ากัน
นอกจากนี้ ก็ยังมี Content ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ซึ่งผมคิดว่าง่ายดายสำหรับผู้ที่เริ่มต้นทำบล็อกมากๆครับ
·             ไดอารี่ Content คลาสสิคที่สุดครับ บันทึกประจำวันส่วนตัวของคุณ ผมไม่ค่อยเห็น Content นี้ในเว็บต่างประเทศ แต่ถ้าจะให้พูดกันจริงๆ จุดกำเนิดของการเขียนบล็อกก็มาจากการเขียนไดอารี่ออนไลน์นี่แหละครับ และมันก็เป็นนิสัยอีกอย่างของคนเรา คือการได้รู้เรื่องของคนอื่นนั่นเอง แต่การจะเขียนไดอารี่ให้น่าสนใจนั้น ไม่ใช่แค่การเขียนว่าตื่นกี่โมงแล้วนอนกี่โมง ขอให้คุณเลือกเขียนเหตุการณ์เด่นๆประจำวันในชีวิตของคุณ เช่นว่า วันนี้คุณไปเดินเที่ยวที่พาราก้อนแล้วเดินชนอั้มพัชราภา อั้มขอโทษคุณด้วยการพาไปเลี้ยงชาบู แบบนี้เป็นต้น การเขียนไดอารี่ เป็นการสื่อถึงความคิดของคุณได้ชัดเจนที่สุดครับ ยิ่งถ้าคนอ่านหลงไหลในไดอารี่ของคุณ เขาจะตามติดคุณทุกฝีก้าวราวกับฆาตกรโรคจิตเลยล่ะครับ
·             Your Favorite เรื่องอะไรก็ได้ที่คุณถนัด สิ่งใดใดก็ตามที่เป็นความสามารถของคุณ แน่นอน คุณไม่ใช่คนมีชื่อเสียง ข่าวสารเกี่ยวกับคุณหรือสิ่งที่คุณมี ไม่ได้ส่งอิทธิพลต่อสังคม หากแต่ว่า คุณไม่ใช่คนที่ไร้ความสามารถ จริงไหม? มีเรื่องราวมากมายที่คุณชอบ และอีกหลายต่อหลายเรื่องที่คุณทำได้ งัดมันออกมา บอกเล่าออกมา ไม่ยากเลยกับการเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเองหรือเกี่ยวกับสิ่งที่คุณชื่นชอบ

ลิงค์การตั้งค่า Windows Live Writer เพื่อเขียนบล็อก


วิธีสร้างบล็อก